งบการเงินประจำปี คือ

งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูก
ต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่งหรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฎิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดง
ถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไป
นี้คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย

      1. งบดุล [ Balance Sheet ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง 

      2. งบกำไรขาดทุน [ Income Statement ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชี
      3. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ [ Statement of Changes in owner Equity ] หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงใน

ส่วนของเจ้าของ
4. งบกระแสเงินสด [ Cash flow Statement ] เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

      5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน [ Note to financial Statement ] ประกอบด้วย คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล

งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อย หรืองบประกอบต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐาน

การบัญชีกำหนดให้เปิดเผย และการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่จะทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง

โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังนี้

                5.1 หมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ ต้อง

                - แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน และนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้กับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญ

                - เปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด

               - ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินแต่เป็นข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้งบการเงินนั้นแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร

                5.2 หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องแสดงอย่างเป็นระบบ รายการแต่ละรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดต้องอ้างอิงข้อมูล

ที่เกี่ยวข้องในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้
การนำเสนองบการเงิน มี 2 ประเภท

      1. งบการเงินประจำปี เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดในรอบปีบัญชีนั้นๆ ของกิจการ

      2. งบการเงินระหว่างกาล เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อแสดงฐานะทางเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร

และผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลทางการเงินก่อนสิ้นงวดบัญชี เช่น งบการเงินรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี เป็นต้น

     การจัดทำงบการเงินเมื่อกิจการได้มีการปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วรูปแบบของงบการเงินมี 2 แบบคือ แบบบัญชีและแบบ

รายงานซึ่งถือว่าแบบรายงานเป็นที่นิยมใช้ในเชิงปฏิบัติมากที่สุดในปัจจุบัน

งบกำไรขาดทุน

    โดยทั่วไปงบการเงินที่สำคัญประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน และงบดุล งบกำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่าใด

ในระหว่างงวด บัญชีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน ได้แก่ บัญชีประเภทรายได้ และบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย เนื่องจากงวดบัญชีโดยปกติมักกำหนดระยะเวลา 1 ปี จึงมัก

เข้าใจผิดว่ากิจการจะต้องจัดทำงบการเงินเพียงปีละครั้งเสมอ ซึ่งที่จริงแล้วกิจการสามารถจัดทำงบการเงินได้ทุกเมื่อ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของกิจการ เช่น

จัดทำทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน ก็ได้ การที่กิจการจัดทำงบการเงินในวันอื่นที่มิใช่วันสิ้นงวดบัญชีนี้ เราเรียกว่า งบการเงินระหว่างการ หรืองบการเงิน

ระหว่างงวด (Interim Report) ซึ่งการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลกับงบการเงินระหว่างงวดนี้มีหลักการและวิธีการจัดทำเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เช่นเดียวกันวิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

วิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

      กิจการสามารถจัดทำงบกำไรขาดทุนได้ 2 แบบ คือ แบบรายงาน และแบบบัญชี โดยมีวิธีการจัดทำ ดังนี้

         1. การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน มีวิธีการจัดทำเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

           ขั้นที่ 1 บรรทัดแรก - เขียนชื่อกิจการตรงกลางหน้ากระดาษ

           บรรทัดที่ 2 - เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”

            บรรทัดที่ 3 - เขียนช่วงระยะเวลาของรอบบัญชีและวันที่สิ้นงวด

         ขั้นที่ 2 ในงบกำไรขาดทุนเขียนรายการบัญชีประเภทรายได้ก่อน แล้วตามด้วยรายการประเภทค่าใช้จ่าย

         ขั้นที่ 3 คำนวณหาผลต่างระหว่างรายได้ และค่าใช้จ่าย

          - ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย เกิดผล “กำไรสุทธิ” เขียนคำว่า “กำไรสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ

          - ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เกิดผล “ขาดทุนสุทธิ” เขียนคำว่า “ขาดทุนสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ